วัสดุ

  ไม้ (wood) เป็นวัสดุก่อสร้างที่ใช้ในการสร้างที่อยู่อาศัย แม้นว่าในปัจจุบันไม้จะกลายเป็นวัสดุที่หายากและแพงกว่าวัสดุทดแทนอื่น แต่ไม้ก็ยังเป็นส่วนประกอบหลักที่ยังจำเป็นต้องใช้ เช่น วงกบ ประตู หน้าต่าง ตลอดจนถึงผลิตภัณฑ์ที่ใช้ตกแต่งภายในบ้าน สำคัญ ได้แก่ วงกบประตูหน้าต่าง บานประตูหน้าต่าง แม่บันได ขั้นบันได พื้นในร่ม ใช้ทำเครื่องเรือน และเฟอร์นิเจอร์ต่าง ๆ ส่วนประกอบของไม้
      ไม้แบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท โดยถือเอาค่าความแข็งแรงในการดัดของไม้แห้ง และความทนทานตามธรรมชาติของไม้ชนิดนั้น ๆ เป็นเกณฑ์ได้แก่
      1. ไม้เนื้อแข็ง มีความแข็งแรงสูงกว่า 1000 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร มีความทนทานสูงกว่า 6 ปี ได้แก่ ไม้เคี่ยม ไม้แอ๊ก ไม้หลุมพอ ไม้เสลา ไม้สักขี้ควาย ไม้เลียงมัน ไม้รัง ไม้ยมหิน ไม้มะค่าโมง ไม้มะเกลือเลือด ไม้ประดู่ ไม้เต็ง ไม้ตะบูนดำ ไม้ตะคร้อหนาม ไม้ตะคร้อไข่ ไม้แดง ไม้กันเกรา
      2. ไม้เนื้อแข็งปานกลาง มีความแข็งแรง 600 ถึง 1000 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร มีความทนทาน 6 ปี ได้แก่ ไม้เหียง ไม้รกฟ้า ไม้ยูง ไม้มะค่าแต้ ไม้พลวง ไม้นนทรี ไม้ตาเสือ ไม้ตะแบก ไม้ตะเคึยนหนู ไม้ตะเคียนทอง ไม้กว้าว
      3. ไม้เนื้ออ่อน มีความแข็งแรงต่ำกว่า 600 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร มีความทนทานต่ำกว่า 2 ปี ได้แก่ ไม้อินทนิล ไม้สัก ไม้ยางแดง ไม้พะยอม ไม้พญาไม้ ไม้ทำมัง ไม้ตะบูนขาว ไม้กะบาก ไม้กระเจา ไม้กวาด
ขนาดของไม้แปรรูป
        ไม้แปรรูปที่จำหน่ายภายในประเทศแบ่งออกเป็นชนิดและขนาดตามความนิยมในวงการค้า 1. ไม้และการก่อสร้างทั่ว ๆ ไปดังนี้
      2. ไม้ฝา ขนาดหนา 1/2 ถึง 3/4 นิ้ว กว้าง 4 ถึง 6 นิ้ว และ 8 ถึง 10 นิ้ว
      3. ไม้พื้นขนาดหนา 1 นิ้ว
      4. ไม้ หนา ขนาด 1 1/2 ถึง 2 นิ้ว และ 2 1/2 ถึง 3 นิ้ว กว้าง 3,4,5,6,8,10 และ 12 นิ้ว
      5. ไม้เสา ขนาดหนา 4 x 4 นิ้ว, 5 x 5 นิ้ว, และ 6 x 6 นิ้ว
      6. ไม้ระแนง ขนาดหนา 1 x 1 นิ้ว
      7. ไม้กลอน ขนาดหน่า 1/2 ถึง 3/4 นิ้ว x 2 ถึง 3 นิ้ว และ 1 ถึง 2 นิ้ว x 1 1/2 ถึง 2 นิ้ว

        ความยาวของไม้ทุกชนิดแบ่งออกเป็น 4 ชนิด ได้แก่
      1.  2.00 ถึง 2.50 เมตร
      2.  3.00 ถึง 5.50 เมตร
      3.  6.00 ถึง 7.50 เมตร
      4.  8.00 เมตรขึ้นไป

สาเหตุที่ทำให้ไม้ผุพังเสียหาย
        ความทนทานของไม้สามารถแบ่งออกตามสภาพแวดล้อมของสถานที่ได้ดังนี้
1. ไม้ในร่ม จากปลวก
2.  ไม้กลางแจ้ง จากแดดและฝน
3.  ไม้ในที่ชื้นแฉะ จากตัวอ่อนของแมลงพวกเพรียงน้ำจืด
4.  ไม้ในน้ำกร่อยหรือน้ำเค็ม จากเพรียง หอยสองฝา กุ้ง ปู บางชนิด เข้าทำลายเพื่อเป็นที่อยู่อาศัย
  
การปรับปรุงคุณภาพไม้
        เนื่องจากไม้ในปัจจุบันมีคุณภาพต่ำลง มีการหดตัว แตกร้าว หรือบิดงอง่าย ทำให้เกิดความเสียหายในสิ่งก่อสร้าง ครัวเรือนเครื่องใช้ไม้สอย โดยทั่ว ๆ ไป จึงต้องมีการปรับปรุงคุณภาพไม้เพื่อให้ไม้มีคุณภาพที่สูงขึ้น ซึ่งเป็นการปรับปรุงทางด้านสี ความแข็งแรง การหดตัว การพองตัวและ ความทนทาน มีหลายวิธีได้แก่
      1. การกองไม้ เป็นการกองไม้ให้โปร่งไม่ชิดติดต่อกัน นอกจากจะทำให้ไม้แห้งเร็วแล้ว ยังป้องกันการเกิดเชื้อราที่ทำให้ไม้ผุได้เป็นอย่างดีด้วย ส่วนไม้ที่เป็นกระพี้หรือไม้ที่ไม่ทนทาน ในขณะที่แปรรูปสด ๆ แล้วกองไม้ชิดติดกันเพียงวันสองวัน ก็จะเกิดราขึ้นเต็ม อาจเสียหายถึงกับทำให้ไม้ใช้การไม่ได้ตลอดไป
      2.  การแช่น้ำ การแช่น้ำเป็นระยะเวลานาน ๆ จะทำให้แป้งและน้ำตาลที่มีในไม้สลายตัวไป เมื่อนำไม้มาใช้งาน ถึงแม้จะมีกระพี้ติดอยู่ มอดก็จะไม่เข้ารบกวน
      3.  การอบหรือนึ่ง จะทำให้สารประกอบทางเคมีบางประเภทซึ่งดูดและคายน้ำได้มากสลายตัวไป ทำให้การพองและการหดตัวของไม้ลดลง
      4. การอบหรือผึ่ง โดยการใส่ไม้ที่จะอบในเตาอบ ซึ่งสามารถทำให้ไม้แห้งได้เร็วไม่ทำให้ไม้เสียหายจากการหดตัว ส่วนการผึ่งในอากาศ ไม้จะแห้งเร็วหรือแห้งช้าขึ้นอยู่กับความชื้นในอากาศ ถ้าอากาศมีความชื้นต่ำ ไม้ก็แห้งเร็ว และถ้าอาคารมีความชื้นมากไม้ก็แห้งช้า
      5.  การอัดไม้ด้วยความร้อน ทำให้ไม้มีปริมาตรเล็กลงและคงรูปได้ภายหลังการอัดและทำให้ไม้แข็งและทนทานขึ้น
      6.  การอัดพลาสติก โดยการอัดสารที่เป็นพลาสติกเหลวเข้าไปในเนื้อไม้ แล้วทำให้มันรวมตัวจับกันเป็นเนื้อพลาสติก กลายเป็นของแข็งในภายหลัง อาจทำได้โดยอาศัยตัวเร่งทางเคมีหรือฉายรังสี
      7.  การอบน้ำยา เป็นการทา ชุป แช่ หรืออัดน้ำยาเข้าไปในไม้ด้วยแรงอัดสูง ซึ่งเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพสูงสุด โดยการนำไม้เข้าห้องบปิดฝาจนสนิท ทำการดูดอากาศในไม้และในห้องอบออกจนหมด แล้วจึงปล่อยน้ำยาเข้าไป ขณะเดียวกันก็จะเพิ่มความกดดันของอากาศในท่อให้สูงขึ้นถึงระดับที่ต้องการ ทิ้งไว้ระยะหนึ่งแล้วจึงลดความดันลง ไม้ที่ทำการอาบน้ำยาแล้วจะมีความทนทานสูงกว่าไม้ธรรมชาติหลายเท่า

ชนิดของไม้                  1. ไม้เนื้ออ่อน  ได้แก่  ไม้ที่มีเนื้อค่อนข้างเหนียว  ทำการเลื่อยหรือตกแต่งได้ง่าย  เนื้อไม้มีลักษณะมีสีซีดจาง  น้ำหนักเบา  ขาดความแข็งแรงทนทาน  รับน้ำหนักได้ไม่ดี  เช่น  ไม้ยาง ไม้ฉำฉา  ไม้กะบาก  ฯลฯ    2. ไม้เนื้อแข็ง  ได้แก่  ไม้ที่มีเนื้อแข็งปานกลาง  ทำการเลื่อย  ไสกบ  ตกแต่งได้ยาก  ลักษณะเนื้อไม้มีสีค่อนข้างเข้มหรืออาจจะค่อนไปทางสีแดง  มีความแข็งแรงทนทาน  เช่น  ไม้ตะเคียน  ไม้ชิงชัน  ไม้เต็ง  ไม้มะม่วง  ฯลฯ      3. ไม้เนื้อแกร่ง  ได้แก่  ไม้ที่มีเนื้อแกร่ง  ทำการเลื่อยตกแต่งได้ยากมาก  ลักษณะเนื้อไม้เป็นมันในตัว  เนื้อแน่น  ลายละเอียด  มีน้ำหนักมาก มีสีเข้มจัดจนถึงสีดำ  มีความแข็งแรงทนทานดีมาก เหมาะกับงานที่ต้องใช้ความแข็งแรงเยอะ เช่น  ไม้ประดู่  ไม้แดง  ไม้เกลือ  ฯลฯ
http://wanchaikarnchang.com.a25.readyplanet.net/images/column.jpg

การเลือกไม้

ไม้เนื้ออ่อน                        1.  ไม้ฉำฉา  ลักษณะคุณสมบัติ  ไม้เนื้อหยาบไม่แน่นมีสีค่อนข้างจาง(ขาว) มีลวดลายสวยงาม  มีน้ำหนักเบา  จัดอยู่ในประเภทไม้เนื้ออ่อน  ทำการเลื่อย  ผ่า  ไสกบ  ตกแต่งชักเงาได้ง่าย            ประโยชน์  ใช้ทำลัง  กล่องใส่วัสดุอุปกรณ์เครื่องมือต่าง ๆ  ปัจจุบันนิยมนำมาใช้ทำเครื่องเรือน  เครื่องใช้ต่าง ๆ  หรือเพื่อใช้ตกแต่งต่าง ๆ 2.  ไม้สัก ลักษณะคุณสมบัติ  เป็นไม้ที่มีคุณภาพดีที่สุด  นอกจากความแข็งแรงอย่างเดียวเท่านั้นที่มีน้อยไปหน่อย  แต่ก็แข็งแรงพอที่จะใช้ได้ เป็นไม้สูงขนาดใหญ่  จะทำการโคนไม้อายุประมาณ  150  ปี  เป็นไม้ที่ขึ้นเป็นหมู่ในป่าเบญจพรรณ  เนื้อไม้มีสีเหลืองนานเข้าจะกลายเป็นสีน้ำตาลแก่  มีกลิ่นหอม  มีน้ำมันในตัว  มีเสี้ยนตรง  เนื้อหยาบไม่สม่ำเสมอกัน กรำแดดกรำฝนไม่ค่อยผุง่าย  หดตัวน้อย  ไม่มีอาการบิดหรือแตกร้าว  มอดปลวกไม่ค่อยรบกวน  เมื่อเลื่อยออกจะเห็นลายได้ชัดเจน  เลื่อย  ผ่า  ไสกบ  ตกแต่ง  ชักเงาได้ง่าย  เป็นไม้ที่ผึ่งให้แห้งได้รวดเร็ว  น้ำหนักต่อลูกบาศก์ฟุตประมาณ  35 – 45  ปอนด์  ยังแบ่งเป็น  3  ชนิด  คือ  สักทอง  สักหิน  สักขี้ควาย  ไม้สักทองมีลวดลายสวยงามมาก  ปัจจุบันมีราคาค่อนข้างแพง            ประโยชน์ ใช้ในการสร้างสิ่งที่ต้องทำอย่างประณีต  ต้องการความสวยงามและทนทานต้องรับน้ำหนักหรือต้านทานมาก  เช่น  ทำประตู  หน้าต่าง  วัสดุ เครื่องใช้   เครื่องเรือนต่าง ๆ  และยังเป็นสินค้าออกที่ทำรายได้ปีละไม่น้อยทีเดียว 3.  ไม้ยาง  ลักษณะและคุณสมบัติเป็นไม้เนื้ออ่อนและหยาบ  มีสีน้ำตาลปนแดง ใช้ในที่ร่มทนทานพอใช้  แห่งช้า  ยืดหดง่าย  เลื่อยผ่าง่าย  บิดงอตามดินฟ้าอากาศ  ถ้าไสตอนไม้สด ๆ  อยู่จะไม้เรียบดีนัก  เสี้ยนมักจะฉีกติดกันเป็นขุยออกมา  ทำให้ขัดหรือทาน้ำมันไม่ค่อยดี  ใช้ในการสร้างรับน้ำหนักมาก ๆ ไม่ได้  ใช้ในที่ต้องการกรำแดดกรำฝนมากไม่ได้นอกจากจะทาสีน้ำมันป้องกันไว้  น้ำหนักต่อ  1  ลูกบาศก์ฟุตประมาณ  40-50  ปอนด์             ประโยชน์  ใช้ทำบ้านเรือน  เครื่องเรือนเฉพาะที่มีราคาถูก ๆ  สร้างบ้านใช้ทำ  ฝา  ฝ้า  หรือส่วน ที่ไม่ต้องรับน้ำหนัก  นิยมใช้กันเพราะราคาถูก  หาง่าย   ไม้เนื้อแข็ง   1. ไม้แดง  คุณลักษณะและคุณสมบัติ  แดง  หรือกร้วม  คว้าย  เป็นไม้ประเภทเนื้อแข็งมีลำต้นขนาดใหญ่ขึ้นอยู่ทั่วไปในป่าเบญจพรรณ  เนื้อไม้มีสีแดงเรื่อๆหรือสีน้ำตาลแกมแดง  เสี้ยนเป็นลูกคลื่น  ละเอียดพอประมาณ   แข็ง เหนียว  มีความแข็งแรงทนทาน  มีลายสวยงาม  ทำการเลื่อย  ไสกบ  ตกแต่งตอกตะปูได้ยาก   เมื่อทำเสร็จแล้วมีความเรียบร้อยสวยงามชักเงาได้ดีมีน้ำหนักต่อ  1  ลูกบาศก์ฟุตประมาณ  55  -  65  ปอนด์           ประโยชน์  ใช้ในการก่อสร้างอาคารบ้านเรือน  เช่น  ทำ  เสา  ขื่อ  คาน  ตง  กระดานพื้น  สะพาน  เกวียน  เรือ  หมอนรถไฟ  เครื่องเรือน  เครื่องมือทางกสิกรรม  ด้ามเครื่องมือต่างๆเป็นต้น                         2. ไม้เต็ง  ลักษณะคุณสมบัติ เป็นไม้ขนาดใหญ่มีอยู่ทั่วไป เมื่อเลื่อยไสแล้วระยะแรกจะเป็นสีน้ำตาลอ่อน  ทิ้งไว้นานจะเป็นสีน้ำตาลแก่แกมแดง  เสี้ยนหยาบสับสน  ทำให้ไสกบตกแต่งได้ยาก  แต่ไม้แข็งและเหนียว  เหมาะแก่การสร้างส่วนที่รับน้ำหนักได้ดี  มีความแข็งแรงทนทานดีมาก  ทนต่อการใช้กรำแดดกรำฝน  เนื้อไม้มักจะมีรอยร้าวเป็นเส้นผมปรากฏหัวไม้มักแตกเก่ง  ฉะนั้นไม้เต็งจึงมักจะไม่ค่อยใช้ในการสร้างสิ่งประณีต  น้ำหนัก  1  ลูกบาศก์ฟุตประมาณ 60    -  70  ปอนด์           ประโยชน์  ใช้กับงานตรากตรำต้องการความแข็งแรงทนทาน  เช่น  ทำเก้าอี้นวม  เก้าอี้ชิงช้า  สะพาน  หมอนรางรถไฟ  ใช้ในการสร้างบ้านเรือนที่ต้องรับน้ำหนักมากๆ  เช่น  ตง  คาน  กระดานพื้น  ไม้โครงหลังคา  และด้ามเครื่องมือกสิกรรม                    3. ไม้รัง   ลักษณะและคุณสมบัติ   ไม้รังหรือไม้เรียง  เป็นไม้ขนาดกลางถึงใหญ่ขึ้นเป็นหมู่ ๆในป่าแดง  เนื้อไม้มีสีน้ำตาลเหลือง  เสี้ยนสับสน  เนื้อหยาบแข็งแรงทนทานมาก  เลื่อย  ไสกบ  ตกแต่งค่อนข้างยาก  น้ำหนักต่อ  1  ลูกบาศก์ฟุต  ประมาณ   50  -  60  ปอนด์             ประโยชน์  ใช้กับงานประเภทที่ต้องการรับแรง  เช่นทำเสา  หมอนรางรถไฟ  สร้างบ้านเรือน  การก่อสร้างต่างๆ  ทำรถ  เรือ  เครื่องมือกสิกรรม  เนื่องจากสาเหตุที่ไม้นี้แข็งแรงและทนทานมากจึงนิยมใช้การก่อสร้างที่ต้องการความแข็งแรงทนทานลักษณะเหมือนกับไม้เต็ง  มีจำหน่ายในท้องตลาดทั่วไป        ไม้เนื้อแกร่ง                       1. ไม้มะค่าโมง  ลักษณะคุณสมบัติ   ไม้มะค่าโมงหรือไม้มะค่าใหญ่  หรือไม้มะค่าหลวง  เป็นไม้เนื้อแกร่งลำต้นใหญ่แต่ไม่สูงนัก  ขึ้นตามป่าดงดิบ และป่าเบญจพรรณ  เว้นทางภาคใต้  เนื้อไม้เป็นสีน้ำตาลเหลือง   เสี้ยนค่อนข้างสน  เนื้อหยาบมีริ้วแทรกแข็งเลื่อย  ไสกบค่อนข้างยาก  ถ้าแห้งดีแล้วจะตกแต่งง่าย  ขัดและชักเงาได้ดี  น้ำหนักต่อ  1  ลบ.ฟุตประมาณ  60  ปอนด์             ประโยชน์  ใช้ทำเสา  ไม้หมอนรางรถไฟ  และใช้ในงานก่อสร้างต่างๆเป็นไม้ชนิดให้ปุ่มมีลายงดงาม  ราคาแพง  ใช้ทำพวกเครื่องเรือน  เครื่องใช้  เช่น  ตู้  โต๊ะ  เก้าอี้รับแขก เป็นต้น                    2. ไม้ประดู่ชิงชัน  ลักษณะคุณสมบัติ  ไม้ประดู่ชิงชันหรือพยุงแกม  หรือ พยุงแดง  เชียงใหม่เรียกว่า  เกิดแดง   ภาคอีสานเรียกว่า  ชิงชัน  ภาคเหนือเรียกว่า  ดู่ลาย  เป็นไม้ประเภทเนื้อแข็ง  ลำต้นขนาดปานกลางถึงขนาดใหญ่ ขึ้นอยู่ในป่าเบญจพรรณทั่วไป  เนื้อไม้มีสีม่วงแก่  สีเส้นแทรกสีดำอ่อนหรือสีแก่กว่าพื้น   เสี้ยนมักสับสนเป็นริ้วแคบๆ  เนื้อละเอียดปานกลาง  แข็ง  เหนียวมาก  แข็งแรงทนทาน  ไสกบ  ตกแต่ง  ชักเงาได้ดี  ตอกตะปูได้ยาก  เมื่อทำเสร็จแล้วจะมีความเรียบร้อยสวยงามเป็นมันดี  เมื่อชักเงาแล้วจะมีลายมีสีสรรสวยงามมาก  น้ำหนัก  1  ลูกบาศก์ฟุต  ประมาณ  67  -  70  ปอนด์             ประโยชน์  ใช้ทำพวกเครื่องเรือน  เช่นตู้  โต๊ะ  เก้าอี้รับแขก  เก้าอี้โยก  ด้ามเครื่องมือ  รางกบ  เกวียน  รถ  แกะสลัก  ทำหวี  เป็นต้น

http://media.yellowpages.co.th/yellowpages/products/th/.jpg

การเลือกไม้ที่จะนำมาใช้งานต้องพิจารณาใน  2  ประเด็นคือ
1. การเลือกไม้มาใช้ในงานประณีต ไม้ที่เลือกมาใช้งานประเภทนี้ เป็นไม้ที่ไม่ต้องรับน้ำหนักหรือต้านแรงมากเหมือนไม้ที่ใช้งานประเภทแรก แต่งานประเภทนี้จะนำไม้ไปประกอบเป็นรูปร่างต่างๆ เช่น บาน ประตู  หน้าต่าง  เครื่องเรือน ตู้  โต๊ะ เก้าอี้ หรือครุภัณฑ์ต่างๆ ที่จะทำอย่างประณีตเรียบร้อยและต้องการความสวยงามมากกว่าความแข็งแรง  เป็นงานที่ทำได้ยากและต้องใช้ฝีมือ     หลักการเลือกไม้มาใช้งานประเภทนี้    - ไม้นั้นจะต้องได้จากแก่นไม้ที่สมบูรณ์ คือ จากต้นไม้ที่เจริญเติบโตเติมที่เหมาะสมตามสภาพดินฟ้าอากาศของถิ่นนั้นๆเป็นไม้ที่ตายยืนต้น    - เป็นไม้ที่หดตัวแล้ว คือเป็นไม้ที่ผึ่งแห้งอยู่ตัวดีแล้ว เมื่อนำมาประกอบสำเร็จรูปจะไม่เกิดอ้าออกจากกันหรือบิดโค้งเสียความงาม    - ไม้เนื้อละเอียดเหนียวแน่น มีแนวตรง ไสกบตกแต่งได้ง่ายเรียบร้อยขัดมันและชักเงาได้ดี    -  มีสีสม่ำเสมอกันทุกแผ่น และทุกๆแผ่นมีสีเหมือนกันด้วย    -  มีลายสวยงามคล้ายๆกัน เพื่อเพลาะไม้เป็นแผ่นเดียวกันได้    -  เป็นไม้ที่มีตาน้อย ตาไม้ไม่เสีย ไม่มีรอยแตกร้าว เป็นแผล เป็นรอยทะลุ    -  ไม้ที่เป็นรอยผุ ด่างหรือเน่าเปื่อย (ไม้ที่ยังไม่ได้ไสสังเกตยาก) ทดลองโดยใช้ค้อนเคาะไม้ดีจะมีเสียงแน่นแกร่ง ถ้าไม่ผุหรือเสีย เปราะ ไม่เหนียว มีเสียงดังผลุๆ เลื่อยไม่ติดคลองเลื่อย ไสกบขี้กบจะป่น      -  ราคาไม่แพงจนเกินไป
http://www.thaicarpenter.com/images/mboard_1350820690/1350820690.jpg

2. การเลือกมาใช้ในงานรับน้ำหนักโดยตรง  ได้แก่  ไม้ที่ใช้ในการก่อสร้างที่ไม่ต้องการความประณีตมากนัก  เช่น  การก่อสร้างบ้านเรือนที่อยู่อาศัย  ไม้จำพวกนี้ต้องทำหน้าที่เกี่ยวกับการรับน้ำหนักและต้านทานแรงต่าง  ๆ  มากกว่าความสวยงาม  ความแข็งแรง  จึงเป็นข้อแรกที่จะต้องคัดเอาไม้ที่แข็งแรงเท่าที่จะสามารถทำได้  คือ  ต้องเป็นไม้ที่เนื้อแน่น  แข็งแกร่ง  เหนี่ยว  ไม่เปราะง่าย  ควรเลือกไม้แก่นหรือไม้ที่มีอายุเหมาะแก่การตัด  ไม่มีรอยชำรุดเสียหาย  เช่น  เป็นตา  ผุ  แตกร้าว  ปิดงอ  คด  โค้ง และเป็นไม้ที่ผ่านการผึ่งมาได้ที่พอเหมาะแก่งานประเภทนี้

ไม้อัด
http://kanchanapisek.or.th/kp6/New/pictures3/s3-224.jpg

        ไม้อัด เป็นวัสดุแผ่นจากไม้ตัวแรกที่ได้จากการนำเอาไม้วีเนียร์ซึ่งได้จากการปอกด้วยเครื่องปอกไม้(Rotary Lathe)หลายๆแผ่นมาอัดให้เป็นแผ่นเดียวโดยการใช้กาวเป็นตัวประสาน โดยวีเนียร์แต่ละแผ่นที่นำมาประกอบเป็นแผ่นไม้อัดจะวางในลักษณะให้เสี้ยนไม้ตั้งฉากกันเพื่อเพิ่มคุณสมบัติในเรื่องของความแข็งแรงและทำให้แผ่นไม้อัดไม่ยืดหรือหดตัวเมื่อความชื้นเปลี่ยนไป โดยทั่วไปไม้อัดจะมีขนาด กว้าง4ฟุต ยาว8ฟุต ความหนาตั้งแต่ 3-4-6-10-15-20 มม. เกรดของไม้อัด  เนื่องจากไม้อัดมีการนำไปใช้ในหลายอุตสาหกรรม การจำแนกเกรดไม้จึงมักจะใช้ประเภทการใช้งานเป็นตัวแบ่งเกรด ดังนี้         เกรดAA หรือเกรดเฟอร์นิเจอร์ เหมาะสำหรับงานที่ต้องการทำสี พ่นสีหรือมีราคาสูง เช่นในงานเฟอร์นิเจอร์บิลท์อินหรืออุตสาหรรมต่อเนื่องเช่น นำไปผลิตไม้อัดสัก, ไม้อัดแอช เป็นต้น เกรดA มีคุณสมบัติด้อยกว่าเกรดAAเล็กน้อย ในเรื่องของความเรียบ ใช้ในงานเฟอร์นิเจอร์ทั่วไป พื้นเวทีคอนเสิร์ทเป็นต้น         เกรดไม้แบบ A ไม้อัดเกรดนี้จะใช้ไม้วีเนียร์ที่ผลิตจากไม้โตเร็ว อาจขัดหน้าแผ่วๆหรือไม่ขัดหน้า มีความแข็งแรง ไส้ไม้แน่นสามารถตัดได้,ขึ้นรูปได้ ส่วนใหญ่ใช้ทำแบบหล่อคอนกรีต, ทำชั้นวางของ พื้นชั่วคราวเป็นต้น
        เกรดไม้แบบ B ไม้อัดเกรดนี้จะใช้ไม้วีเนียร์ที่ผลิตจากไม้โตเร็ว อาจขัดหน้าแผ่วๆหรือไม่ขัดหน้า ไส้ไม่แน่น ไม่สามารถตัดได้ ส่วนใหญ่จะใช้ในงานแพ็กสินค้า,บ้านพักคนงานเป็นต้น

ไม้ปาร์ติเคิลบอร์ด
        ปาร์ติเกิ้ลบอร์ด (Particleboard)  เป็นไม้วิศวกรรมประเภทหนึ่ง สร้างมาจากเศษชิ้นไม้ เช่นชิปไม้ หรือแม้แต่ขี้เลื่อย มาประสานกันโดยสารเคมีและนำมาทำการบดอัดด้วยความดันสูง มีข้อดีคือราคาถูก,สามารถปิดผิวได้ แต่มีข้อด้อยในเรื่องของความแข็งแรงและความต้านทานต่อศัตรูของไม้ เช่น ความชื้น,แมลงกินไม้,ปลวก ทำให้อายุการใช้งานสั้นกว่าไม้อัดมาก
        เอ็มดีเอฟ (MDF ย่อจาก medium-density fiberboard) หรือ ไฟเบอร์บอร์ดความหนาแน่นปานกลาง ได้มาจากการบดไม้ท่อนและนำมาอัดเป็นชิ้นไม้โดยประสานกันด้วยกาวภายใต้อุณหภูมิและความดันสูง เอ็มดีเอฟมีลักษณะคล้ายไม้อัด แต่ลักษณะของโครงสร้างของไม้จะต่างกันโดยส่วนประกอบของเอ็มดีเอฟทำมาจากเยื่อไม้ ไม้เอ็มดีเอฟมีคุณสมบัติเด่นคือ สามารถผลิตเป็นแผ่นบางๆได้ ขึ้นรูปได้ง่าย สามารถเจาะหรือทำเป็นชิ้นงานต่างๆได้ง่าย ทำสีพ่นได้ มีราคาถูกกว่าไม้อัดไม้อัด OSB (Oriented Strand Board Wood) เป็นการนำเอาชิ้นไม้เล็กๆ หลากหลายขนาดและความยาวโดยน้ำแผ่นเศษไม้มาผสมกาวก่อนที่จะนำไปเรียงให้เสี้ยนไม้อยู่ในทิศทางเดียวกันในแต่ละชั้น ซึ่งแผ่น OSB จะมีอย่างน้อย 3 ชั้น แต่ละชั้นจะวางสลับเสี้ยนขวางตั้งฉากกันจากนั้นนำไปอัดด้วยความร้อนให้ได้แผ่นที่กว้างและยาวตามแต่ขนาดที่ต้องการ
        ปัจจุบันไม้อัด OSB เริ่มมีการใช้แพร่หลายมากขึ้น เริ่มจากการนำไปปูใต้หลังคา การนำไปตกแต่งภายใน แต่ในต่างประเทศซึ่งเป็นเมืองหนาวจะใช้เป็นส่วนประกอบของผนังบ้าน ใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ
การเลือกซื้อไม้อัด
รายละเอียดเกี่ยวกับไม้อัด,วิธีการเลือกซื้อและนำไปใช้งาน                                                                                               
ปัญหาที่พบบ่อยๆของผู้ใช้ไม้อัดทุกวันนี้คือ ไม่รู้ว่าจะต้องซื้อไม้อัดตัวไหนไปใช้งาน เพราะในปัจจุบันไม้อัดที่ขายกันในตลาดมีมากมายหลายเกรด ทั้งไม้จากโรงงานในประเทศไทย ไม้นำเข้าจากจีน, มาเลเซียและจากประเทศอื่นๆ ก่อนอื่น เรามาทำความรู้จักไม้อัดขนาดต่างๆ 1- ขนาดมาตรฐาน ของไม้อัดโดยทั่วไปคือ กว้าง4 ฟุต xยาว 8ฟุต                           
2- ความหนา ไม้อัดที่ซื้อขายกันทั่วไปในท้องตลาด จะมีความหนาไม่เต็มตามขนาดที่ระบุไว้ เช่นขนาด 10 มม. จะหนาจริงประมาณ 7.5 - 8.8 มม. เป็นต้น ให้ดูในตารางข้างล่างในช่อง “ความหนาจริง”
3- แหล่งที่มาหรือแหล่งผลิต ในที่นี้ขออธิบายเฉพาะ “ไม้ไทย” และ “ไม้จีน ไม้อัดที่ผลิตในประเทศไทยหรือเรียกกันสั้นๆว่าไม้ไทย จะเป็นไม้อัดที่ผลิตจากโรงงานในประเทศไทย โดยใช้วัตถุดิบส่วนใหญ่เป็นไม้ในประเทศเช่นจากไม้ยางพารา,ไม้ยูคาเป็นต้น ไม้อัดจีน เป็นไม้อัดนำเข้า100 % ด้วยกลยุทธราคาที่ถูกกว่า ปริมาณที่มากกว่า ทำให้ไม้จีนเข้ามาตีตลาดไม้อัดและครองส่วนแบ่งทางการตลาดได้ในที่สุด
4- คุณภาพ แน่นอนว่าในเกรดเดียวกันไม้ไทยมีคุณภาพสูงกว่า  การเลือกซื้อไม้ให้ได้ไม้ที่สามารถนำไปใช้งานได้คุ้มค่ากับเงินที่จ่ายไป เราต้องการนำไม้ไปทำงานอะไร มีการตัดซอยไม้ไหม ต้องทาสีหรือทำสีหรือไม่ และระยะเวลาที่ต้องการใช้งานและสิ่งสุดท้ายก็คืองบประมาณ  
ตารางที่1- ไม้อัดเกรดต่างๆ คุณลักษณะทั่วไป     

ลำดับ
เกรด
ลักษณะทั่วไปโดยสังเขป

ทาสี


ตัด
ได้
ใส้
ไม่
กลวง
การรับ
น้ำ
หนัก
ทำสี งาน
ตก
แต่ง
หล่อ
แบบ
คอน
กรีต
1
ไม้ไทย AA
ไม้อัดเกรดนี้เหมาะสำหรับงานที่ต้องการความเรียบร้อยของชิ้นงานหรือต้องการ
ทำสีและโชว์ผิวของไม้, งานเฟอร์นิเจอร์,ตกแต่งภายใน,บิลท์อิน  
ได้
ได้
ได้
ได้
-
2
ไม้ไทย A
ไม้อัดเกรดนี้เหมาะสำหรับงานที่ต้องการความเรียบร้อยของชิ้นงานหรือต้องการ
ทำสี, งานเฟอร์นิเจอร์ทั่วไป    
ได้
ได้
ได้
พอ
ใช้
ได้
-
3
ไม้ไทย แบบA
ไม้อัดเกรดนี้เหมาะกับงานเน้นในเรื่องของความแข็งแรงไม่เน้นความเรียบร้อยของผิวงานหรือไม่ต้องทำสี เช่นการทำพื้นเวที, พื้นชั้นวางของ, พื้นชั้นลอย
ได้
ได้
ได้
ไม่ได้
ได้
4
ไม้ไทย แบบB
ไม้อัดเกรดนี้เหมาะกับงานที่ต้องการความแข็งแรงไม่เน้นความเรียบร้อยของผิวงานหรือไม่ต้องทำสี ในงบประมาณจำกัดหรือใช้งานชั่วคราวเช่นพื้นบูธ, งานหล่อแบบที่ไม่หนามาก เป็นต้น
ไม่ได้
ไม่ได้
ได้
ไม่ได้
ได้
5
ไม้จีน AA
ทำจากไม้โตเร็ว,เนื้อเบา ผิวหน้ามีความเรียบร้อย แต่ไม่สามารถใช้รับน้ำหนักหรือทำสี
ได้
ได้
ไดั
ไม่
มาก
ไม่ได้
ไม่ควรใช้
6
ไม้จีน แบบ

ทำจากไม้โตเร็ว,เนื้อเบา ไม่สามารถใช้รับน้ำหนักหรือทำสี

ไม่ได้
ไม่ได้
ไม่ได้
ไม่ได้
ไม่
ได้

ตารางที่ 2- ความหนาของไม้อัดเกรดต่างๆ
ลำดับ
ความหนาซื้อขาย
ความหนาจริง (ประมาณ )
                 หมายเหตุ
1
3
2.5

2
4
3.0 - 3.2

3
6
4.5 - 5.0

4
10
7.5 - 8.0

5
15
12.5 - 13.5

6
20
17.0 - 18.0


สรุป   หากต้องการคุณภาพ,ความคุ้มค่า งานที่ต้องการความแข็งแรง,ทำสี เลือกใช้ไม้อัดในประเทศ หากต้องการราคาถูก ยอมรับได้ในเรื่องของไส้ไม้ที่ไม่เต็มและไม่ได้ใช้งานหลายครั้งหรือใช้ครั้งเดียวทิ้ง เช่นการแพ็คกิ้ง ใช้ไม้อัดจีน


ผลิตภัณฑ์กลุ่มวัสดุแผ่น
ข้อมูลจาก : การใช้ประโยชน์ไม้ขั้นพื้นฐาน. สำนักวิจัยการจัดการป่าไม้และผลิตผลป่าไม้ กรม  ป่าไม้. 2547.
เรียบเรียง  : บางรักษ์ เชษฐสิงห์ นักวิชาการป่าไม้ 5
ไม้อัด ไม้ประกอบ
ไม้อัดไม้ประกอบถือได้ว่าเป็นการใช้ประโยชน์ไม้ได้อย่างคุ้มค่าและชาญฉลาด โดยการใช้ความรู้ทางเทคโนโลยีของไม้ (Wood Technology ) มาประยุกต์ใช้จากการแปรรูปไม้หรือเศษเหลือจากอุตสาหกรรมโรงเลื่อย อุตสาหกรรมเครื่องเรือนหรืออื่น ๆ นำกลับมาประกอบเป็นไม้ใหม่(Wood Reconstituted Board ) อีกทั้งเอื้ออำนวยคุณลักษณ์หลายๆ ด้าน เช่นความกว้างใหญ่ของแผ่นไม้ และความรู้ เทคโนโลยีไม้นี้ยังก้าวหน้าไม่หยุดยั้ง ขึ้นตลอดเวลาเพื่อเพิ่มคุณสมบัติของแผ่นไม้อัดไม้ประกอบให้ดียิ่ง ๆ ขึ้น
ไม้อัดและไม้บาง (Plywood & Veneer ) 
http://www.welbuildingsupplies.co.uk/shop/images/stories/virtuemart/product/PLYWOOD_MARINE.jpg
ไม้อัดไม้บางนั้นผลิตควบคู่กันเพื่อใช้งานทั้งในประเทศและเพื่อการส่งออกทั้งไม้อัดและไม้บาง ซึ่งในตลาดโลกมีภาวะ การแข่งขันสูงเนื่องจากผู้ผลิตรายใหญ่คือ อินโดนีเซีย มาเลเซีย และสิงคโปร์ ต่างก็มาตรฐานการส่งเสริมเพื่อการส่งเสริมเพื่อการส่งออกและทุ่งปริมาณเข้าสู้ตลาดโลกอย่างมากมาย แผ่นไม้อัดนั้นเป็นที่นิยมเพราะมีคุณสมบัติที่ดีในการก่อสร้างที่เห็นได้ชัดคือแผ่นกว้างใหญ่ น้ำหนักเบาเมื่อเปรียบเทียบกับไม้จริง แต่แนวโน้มโรงงานไม้อัดไม้บางคงจะมีน้อยลงเนื่องจากไม้หายากขึ้น และภาวะ การแข่งขันในตลาดโลกสูง โรงงานที่มีอยู่จะต้องปรับเปลี่ยนเทคโนโลยีให้สามารถปอก ( Peeling ) หรือฝาน (Slicing ) ไม้ท่อนเล็ก ๆ ได้ อีก วัตถุดิบไม้ที่ใช้ ได้แก่ ไม้สัก ไม้ยาง ไม้ชิงชัน ไม้ประดู่ ไม้ตองจิง ไม้จำปา ไม้สยา ไม้กะบาก ฯลฯ
แผ่นไม้ประกอบ ( Composite Board )
แผ่นไม้ประกอบการใช้เศษไม้ปลายไม้ที่เหลือจากโรงเลื่อย ซึ่งสามารถผลิตได้ โดยใช้เทคโนโลยีง่าย ๆ คือ
http://i01.i.aliimg.com/photo/v0/12035763/Wpc_Composite_Timber_Board_Lumber.jpg
1.แผ่นไม้ปาร์เก้ ( Parquet & Mosaic Parquet )
แต่เดิมนิยมผลิตจากไม้สัก ต่อมาผลิตจากไม้ยางพาราและมีการใช้ไม้โตเร็วแล้วคือ ไม้ยูคาลิปตัส การผลิตไม้ปาร์เกนี้จะขยายตัวตามภาวะเศรษฐกิจที่ดีขึ้น มีการก่อสร้างบ้านพักที่อยู่อาศัยมากขึ้น ถึงแม้จะต้องแข็งขันกับวัตดุปูพื้นอื่น ๆ เช่น กระเบื้อง ยาง หินอ่อน หินขัด ฯลฯแต่ด้วยคุณลักษณะของไม้นั้นเป็นที่นิยมมากกว่า
http://www.picturegallery.biz/Images/Categories/Backgrounds/Backgrounds_Big_Images/00149.jpg
2.แผ่นไม้ประสาน ( Block Board )
http://www.consmos.com/images/blockboard/blockboard5.jpg
แผ่นไม้ประสานสามารถผลิตได้ในโรงเลื่อยหรือโรงงานผลิตเครื่องเรือน โดย การนำเศษไม้เปลือยไม้จากโรงงาน มาตัดซอยให้ได้ขนาดอาจใช้การต่อปลายแบบนิ้วประสาน แล้วทากาวด้านข้างเรียงต่อกันเป็นแผ่นกว้างใหญ่ขึ้น ด้วยกรรมวิธีการผลิตง่าย ๆ และใชเศษไม้ปลายไม้ได้ประกอบกับความต้องการแผ่นไม่ประสานในตลาดทั้งภายในและนอกประเทศมีสูงขึ้นทุก ๆ ปี วัตถุดิบไม้ที่ใช้ ได้แก่ ไม้สัก ไม้ยางพารา ไม้ยางนา เป็นต้นฯลฯ

1 ความคิดเห็น: